เมนู

เถระ ผู้อยู่กุรุนทกวิหาร กล่าวว่า ผู้มีอายุ มรรคจิตเท่านั้น ชื่อว่า
เป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 5 - 6

อรรถกถาสูตรที่ 7 - 8



ในสูตรที่ 7 - 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อพหุลีกตํ ได้แก่ไม่กระทำบ่อย ๆ พึงทราบเฉพาะจิต
ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ และวิวัฏฏะ ทั้ง 2 ดวง แม้นี้แล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 7 - 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
(จิต) ชื่อว่า นำทุกข์มาให้ เพราะชักมาคือนำมาซึ่งวัฏฏทุกข์ ที่
ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์) บาลีว่า
ทุกฺขาธิวาหํ ดังนี้ก็มี ความแห่งบาลีนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ว่า จิต
ชื่อว่า ทุกขาธิวาหะ เพราะยากที่จะถูกนำส่งตรงต่ออริยธรรม
อันมีฌานที่เป็นบาทของโลกุตตระเป็นต้น แม้จิตนี้ก็คือจิตที่เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจวัฏฏทุกข์นั่นเอง. จริงอยู่ จิตนั้น แม้จะให้เทวสมบัติ
และ มนุษย์สมบัติ มีประการดังกล่าวแล้ว ก็ชื่อว่านำทุกข์มาให้ เพราะ
นำชาติทุกข์เป็นต้นมาให้ และชื่อว่ายากที่จะนำไป เพราะส่งไปเพื่อ
บรรลุอริยธรรมได้โดยยาก.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
จิตก็คือจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิวัฏฏะนั่นแหละ จริงอยู่ จิตชื่อว่า
สุขาธิวหะ หรือสุขาธิวาหะ เพราะอรรถว่าชักมา คือนำมาซึ่ง
ทิพยสุขอันละเอียดประณีตกว่าสุขของมนุษย์, ซึ่งฌานสุขอันละเอียด
ประณีตกว่าทิพยสุข. ซึ่งวิปัสสนาสุขอันละเอียดประณีตกว่าผลสุข.
ซึ่งมรรคสุขอันละเอียดประณีตกว่าวิปัสสนาสุข. ซึ่งผลสุขอันละเอียด
ประณีตกว่ามรรคสุข, ซึ่งนิพพานสุขอันละเอียดประณีตกว่าผลสุข,
จริงอยู่ จิตนั้น เป็นจิตสะดวกที่จะส่งตรงต่ออริยธรรม ซึ่งมีฌาน
อันเป็นบาทของโลกุตตระเป็นต้น เหมือนวชิราวุธของพระอินทร์
ที่ปล่อยไป ฉะนั้น เหตุนั้น จึงเรียกว่า สุขาธิวาหะ. ในวรรคนี้ท่าน
กล่าววัฏฏะ และวิวัฏฏะเท่านั้นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 10

จบ อรรถกถาอกัมมนิยวรรค 3